วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

วัดหนองบัว จังหวัดอุบลราชธานี

  วัดหนองบัว

         วัดหนองบัว เป็นวัดราษฎร์ นิกายธรรมยุต อยู่อำเภอเมืองอุบลราชธานี ห่างจากศาลากลางจังหวัด       ไปทางด้านทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บนถนนธรรมวิถี แยกจากถนนชยางกูร ไปทางทิศตะวันตก 
ประมาณ 500 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2498 มีพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา เป็นวัดสำคัญ     
วัดหนึ่ง ของจังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500

         พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์นั้น ได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอบองค์พระธาตุเป็นกำแพงแก้ว ซึ่งทั้ง 4 มุม ของกำแพงแก้ว ได้ประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็กอีก 4 องค์ ภายในองค์พระธาตุมีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน พระธาตุองค์เดิมมีขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูงประมาณ 17 เมตร เมื่อสร้างใหม่ครอบองค์เดิม คือพระบรมธาตุที่เห็นในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่มาก ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร สูง 56 เมตร เสร็จสมบูรณ์ในปี 2512 ด้านหลังของพระบรมธาตุ เป็นที่ตั้งของศาลาการเปรียญ ซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี กลุ่มของฆราวาสจะรวมกันอยู่ด้านหลัง ซึ่งเป็นกุฏิที่สร้างอยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งเป็นป่าโปร่ง ส่วนกุฏิของแม่ชี จะแยกพื้นที่ไปอย่นอกวัด

        
มูลเหตุการสร้างวัด 
          มูลเหตุการสร้างวัดหนองบัว เริ่มต้นจากกลุ่มพุทธศาสนิกชน ผู้ยึดมั่นในการปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่ง         มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ในการสร้างวัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเป็นที่ระลึกเนื่องในวาระมงคล  กึ่งพุทธกาล พุทธศตวรรษ 2500 กำหนดแผนการสร้างวัด เริ่มแรกในที่ดินของ นายฟอง 


อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานในพระธาตุ
          สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ทรงมีความปิติยินดีกับความสามัคคีของชาวอุบล ในการสร้างพระธาตุไว้สักการะบูชาอย่างยิ่ง จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงเทพมหานคร มารถไฟอุบลราชธานี จนถึงวัดหนองบัว ในวันที่ 20 มีนาคม 2502 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 21 มีนาคม 2502 เป็นวันมหามงคลยิ่งของชาวอุบลฯ ที่พระบรมสารีริกธาตุ ได้บรรจุในพระธาตุอย่างสมบูรณ์ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์                 เป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐ์ฐานยังองค์พระบรมธาตุ
         เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีบันทึกกราบถวายองค์พระบรมธาตุว่า วันที่ 21 มีนาคม 2502 พวกเกล้าชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้พร้อมใจกันสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ขึ้น ที่ข้างหนองบัวหลวง กิโลเมตรที่ 3 จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อความเจริญของพระพุทธศาสนา ในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 นี้ และพวกเกล้า มีความปิติซาบซึ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุในพระบรมเจดีย์ให้พวกเกล้า พระคุณอันนี้ อยู่ในความรำลึกของชาวอุบลราชธานีโดยถ้วนหน้าตลอดกาลนาน
            และโอกาสนี้ ชาวอุบลราชธานีทั้งมวล ขอตั้งสัจจะอธิษฐานผลกุศลอันเกิดจาดการสร้างพระบรมธาตุนี้ และขอศีล ทาน ภาวนา อันพวกเกล้าชาวอุบล ได้กระทำแล้วทั้งมวล จงบังเกิดฤทธินุภาพวินัยคุ้มครองพระองค์เจ้า องค์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จงทรงพระเกษมสำราญ พร้อมศิษยานุศิษย์ เพื่อบริหารกิจของพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อความสุขแก่ชาวโลกถ้วนหน้า กาลนานเทอญ


การสร้างพระธาตุองค์ใหญ่
          การสร้างพระบรมธาตุองค์ใหญ่ เป็นความคิดสืบมาจากการสร้างพระธาตุองค์เล็ก นายทองพูน ยุวมิตร เป็นประธาน กรรมการก่อสร้าง นายเฮ็ง ปัญญา เป็นนายช่างควบคุมการดูแลก่อสร้าง นายคำโพธิ์ ยุวมิตร มีหน้าที่ซื้อวัสดุก่อสร้าง และนายสอน ศรีเอก เป็นกรรมการ
          คณะสงฆ์ กรรมการฝ่ายสงฆ์ประกอบด้วย ท่านเจ้าคุณ พระราชธรรมสุเมธี เจ้าคณะจังหวัดวัดสุปัฎนารามวรวิหาร เป็นประธานกรรมการ พระครูวิจิตร ธรรมภาณี เป็นรองประธานกรรมการ ประกอบด้ว
          พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศน์ กรรมการ
          พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ กรรมการ
          พระครูวินัยธร วัดสุทัศน์ กรรมการ
          พระปลัดพรหมมาฐานิโย วัดหนองบัว กรรมการ
          พระทอน วัดสุทัศน์ กรรมการ
          พระพา วัดหนองบัว กรรมการ
          คณะกรรมการมีมติให้สร้างพระบรมธาตุองค์ใหญ่ ครอบพระธาตุองค์เล็ก เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2505 การดำเนินการก่อสร้างพระบรมธาตุองค์ใหญ่ ประกอบกับปัญหาเรื่องค่าก่อสร้าง ได้ทำพิธีมอบถวายที่ดิน จำนวน 50 ไร่ ของคุณพ่อฟอง และคุณแม่จันมี สิทธิธรรม ผู้มอบ ถวายในวันที่ 24 ตุลาคม 2498 ท่ามกลางความชื่นชมโสมนัสของพระพุทธศาสนิกชน ประธานฝ่ายสงฆ์ได้แก่พระศาสนดิลก เจ้าคณะธรรมยุต วัดสุปัฎนารามวรวิหาร คณะสงฆ์ประกอบด้วย พระศรีธรรมวงศาจารย์ พระสารธุลี เป็นต้น รวมพระสงฆ์ทั้งหมด 11 รูป ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม 2498 นายทองพูน ยุวมิตร พร้อมคณะกรรมการวัดและพุทธสาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้ลงมือหักร้างถางพงบริเวณที่ดินเหนือหนองบัวใหญ่ เป็นปฐมฤกษ์

สิ่งสำคัญภายในวัดสมัยแรกสร้าง
          สิ่งก่อสร้างสำคัญสมัยแรกสร้างวัด มีจำนวนไม่มากและไม่มั่นคงเท่าไรนัก ประกอบด้วยศาลาโรงธรรมและกุฏิชั่วคราว 5 หลัง แต่ละหลังมุงหญ้า กั้นฝาขัดแตะปูพื้นกระดาน เฉพาะศาลาโรงธรรมหลังคามุงด้วยสังกะสี พระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริดสมัยเชียงแสนหน้าตักกว้าง 18 นิ้ว ได้มาจากวัดสุทัศนาราม ในคราวแห่พระพุทธสำริดจากวัดสุทัศนาราม ไปประดิษฐานที่วัดหนองบัว ได้แห่พระหลวงพ่อสังกัจจายน์ ขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว ไปด้วยอีกองค์หนึ่ง พระสังกัจจายน์องค์นี้ สร้างด้วยดินประทาย คือมีส่วนประกอบด้วย ทราย น้ำอ้อย และยางบง ตามตำราโบราณ



พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง
          มูลเหตุการสร้างพระพุทธคยาจำลอง เป็นไปในทำนองเดียวกันกับการสร้างวัดหนองบัว นายทองพูน   ยุวมิตร ผู้เริ่มก่อสร้าง ได้ชักชวนนายเฮ็ง ปัญญา และนายคำโพธิ์ ยุวมิตร ไปศึกษาดูงานด้านการสร้างศิลป   ของพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ก่อนที่จะลงมือขุดวางราก
          ในระยะแรกๆ ต่อมา ในปี พ.ศ.2507, 2508, 2510 และปี พ.ศ.2513 คณะกฐินสามัคคีของคณะข้าราชการกรมป่าไม้ และพ่อค้าไม้ โดยการนำของนายอุทัย-นางปราณี ใจประสาท จึงได้จัดมหากฐินนำเงินเข้าวัดหนองบัว จนสามารถสร้างพระบรมธาตุองคใหญ่ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์



ยกฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุองค์ใหญ่
          เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2530 ทางทายกทายิกา ได้ไปกราบอาราธนาขอพระครูกิติวัณโณบล ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหนองบัว จึงมาดำริจัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ขึ้น จึงได้ปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์และทายกทายิกา พ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ มีความเห็นพร้อมกันทุกฝ่าย ให้จัดทำฉัตรทองคำได้ จึงดำเนินการหล่อฉัตร 5 ชั้นขึ้น ลงรักปิดทอง ส่วนสนยอดฉัตรที่เป็นรูปดอกบัวตูมนั้น เป็นเนื้อทองคำแท้หนัก 31 บาท ตาม พ.ศ.ที่จะยก และเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนม์มายุครบ 5 รอบ ทั้งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองราชสมบัติยาวนานกว่าในจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นวันชัยมงคลาภิเษกด้วย


          เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชาวอุบลราชธานี และสาธุชนทั่วไป จึงได้ดำเนินการจัดการงานนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ขึ้น พร้อมกับยกฉัตรทองคำ ในวันที่ 5 มีนาคม 2531 โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์คือ       พระเดชพระคุณเจ้าคุณพระพรหมมณี พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี ประธานฝ่ายฆราวาส            มี ฯพณฯ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ พร้อมด้วย ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุขุม เลาวัณศิริ ผู้ว่าราชการังหวัดอุบลราชธานี เรือตรีดนัย เกตุศิริ และผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีมหาดไทย นายวีระวร สิทธธรรม พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน พร้อมกันทำพิธียกฉัตรทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ขึ้น ในเวลา 09.59 น.
 ...ขอขอบคุณ..
ข้อมูลจาก  http://guideubon.com/news/view.php?t=18&s_id=20&d_id=8


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร



      วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดก   ความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551และวันที่ 16 มิถุนายน 2554          ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ




        วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย     โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


        ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549   โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน

...ขอขอบคุณ...
ข้อมูลจาก  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร 




        วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง: LN-Wat Phra That Doi Suthep.png) พระอารามหลวง    
ชั้นโท ชนิดราชวรวิหารตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพเป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา มีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ     พระธรรมเสนาบดี  (ธงชัย สุวณฺณสิริ)


        วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6     แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี  มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯ ให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ






        ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

...ขอขอบคุณ...
ข้อมูลจาก  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร



       วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย



       วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก



      วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัยและเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุ สุคนธเจดีย์ ...


      ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า " ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท)   ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษา     พระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง"
       ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

...ขอขอบคุณ...
ข้อมูลจาก  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

อิ่มบุญ อิ่มท้อง อิ่มเอิบใจ ที่ได้ร่วมทำบุญมหาสังฆทำนและบุญสลากภัต

อิ่มบุญ อิ่มท้อง อิ่มเอิบใจ  ที่ได้ร่วมทำบุญมหาสังฆทำนและบุญสลากภัต



...........วันนี้ถือเป็นอีกวันหนึ่งที่เป็นวันแห่งความประทับใจของข้าพเจ้าที่ได้มีโอกาสนาเพื่อนๆเข้าร่วมกิจกรรมอันเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย คือ การทาบุญในเดือนสิบ บุญข้าวสากหรือสลากภัต ตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ประเพณีอันดีงาม ของชาวอีสาน ภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชนใกล้วัดพานทาได้มาร่วมกันทาบุญอันเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ในงานบุญมหาสังฆทานและบุญสลากภัต สะท้อนให้ความผูกพันระหว่างคนในชุมชนกับวัดซึ่งเป็นสถานที่รวมจิตใจของผู้คน ทั้งยังได้เห็นแรงศรัทธาอันแน่วแน่ของชาวชาวบ้านต่อพระพุทธศาสนา คนในชุมชนส่วนใหญ่ที่มาร่วมงานเป็นผู้สูงวัยและวัยกลางคนที่หิ้วปิ่นโต พร้อมทั้งอาหารคาวหวาน     ที่นามาเพื่อเตรียมถวายพระและที่สำคัญยังมีห่อข้าวเล็กๆ ห่อด้วยใบตองที่ชาวบ้านนาติดต่อมาด้วย เรียกว่า ห่อข้าวน้อย นามาเพื่อสาหรับ วางไว้บริเวณภายในวัด โดยมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับแล้วจะกลับมารับห่อข้าวที่ได้เตรียมไว้ให้ นอกจากนี้แล้วยังมีคนในชุมชนที่มีจิตศรัทธาได้รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งโรงทาน บริการอาหาร น้าดื่ม ขนมนมเนยต่างๆ   สำหรับผู้มาร่วมงานในครั้งนี้ เมื่อถึงเวลาเริ่มงาน คนในชุมชนพานทา ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง ที่เดินทางมาร่วมงานและมีตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ร่วมถวายสังฆทาน ฟังพระธรรมเทศนาจากพระคุณเจ้า     กรวดน้าอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ญาติทั้งหลายผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว และได้รับประทานอาหารกลางวัน       ร่วมกันก่อนเดินทางกลับ ในช่วงบ่ายพระสงฆ์ที่เดินทางมาร่วมงาน ได้ร่วมทาพิธีสวดปาฏิโมกข์ในพระอุโบสถ์            ซึ่งเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่พระสงฆ์ได้กระทาเป็นประจาเนื่องใน  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นประชุมกัน   ของเหล่าพระสงฆ์ ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเป็นการทบทวนคำสั่งสอนต่างๆของพระพุทธเจ้า ในการนาเผยแผ่แก่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่อไป สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านอาจารย์อธิชาติ บุญญยศยิ่ง ที่ท่านได้บอกบุญข้าพเจ้าและเพื่อนๆในการมาร่วมงานในครั้งนี้  และขอขอบคุณเพื่อนๆ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ ๒ ตลอดจนน้องๆนักศึกษา     ชั้นปีที่ ๑ ที่เดินทาง  มาร่วมงานทุกคน ที่ให้ความร่วมมือและมีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานวัดในครั้งนี้ อาทิเช่น         เตรียมดอกไม้  ยกโต๊ะ เก้าอี้ เตรียมอาหาร กวาดศาลา ล้างถ้วยจาน เป็นต้น จนทาให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ ทุกคนที่มาร่วมงานต่างอิ่มบุญ อิ่มท้อง อิ่มเอิบใจในการมาร่วมทำบุญ            มหากุศลอันยิ่งใหญ่

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว


       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จ.เชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส


       วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ               ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี             ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภช                   กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

...ขอขอบคุณ...   
     ข้อมูลจาก     https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1                                                                                                                

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

วัดในไทย



          วัด หมายถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัย คำว่า “วัด” เป็นคำเรียกชื่อศาสนสถานแบบคำไทย โดยที่มาของคำว่า “วัด” นี้ ยังไม่มีข้อยุติ ด้วยบางคนอธิบายว่า มาจากคำว่า “วตวา” ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นที่สนทนาธรรม บ้างก็ว่ามาจาก “วัตร” อันหมายถึงกิจปฏิบัติหรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึงกระทำ หรือแปลอีกอย่างว่าการจำศีล ซึ่งวัด (วัตร) ตามนัยยะนี้จึงน่าจะหมายถึงสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่จำศีลภาวนา หรือสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ปฏิบัติภาระกิจที่พึงกระทำนั่นเอง แต่ก็มีบางคนสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “วัดวา” อันหมายถึงการกำหนดขอบเขตของดินแดนที่สร้างเป็นศาสนสถาน เพราะวัดกับวามีความหมายอย่างเดียวกัน คือการสอบขนาด หรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ความยาว ความกว้าง เป็นต้น วัดในนัยยะอย่างหลังนี้จึงหมายถึง พื้นที่
แต่เดิมครั้งพุทธกาลนั้น มีการใช้คำว่า “อาราม” เป็นคำเรียกชื่อ ศาสนสถานในทางพุทธศาสนาที่ใช้เรียกเสนาสนะที่มีผู้ศรัทธาถวายพระพุทธองค์ใน ระยะแรกๆ เช่น “เชตวนาราม” หรือชื่อเต็มว่า“เชตวเนอนาถบิณฑิกสสอาราเม” ซึ่งมีความหมายว่า “สวนของอนาถบิณฑที่ป่าเชต” หรือ “เวฬุวนาราม” หรือ “บุปผาราม” เป็นต้น โดย “อาราเม” หรือ “อาราม” ในคำอ่านของไทยแปลว่าสวนนอกจากนี้ในเวลาต่อมายังมีคำที่ใช้เรียกอีกอย่างว่า “วิหาระ” หรือ “วิหาร”

...ขอขอบคุณ...
ข้อมูลจาก  http://www.phuttha.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94